วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ทวีปในอดีต

               เมื่อมองดูแผนที่โลก หากเราตัดส่วนที่เป็นพื้นมหาสมุทรออก จะพบว่าส่วนโค้งของขอบแต่ละทวีปนั้น โค้งรับกันราวกับนำมาเลื่อนต่อกันได้เสมือนเกมส์ต่อแผนภาพ (Jigsaw) นักธรณีวิทยาพบว่า ตามบริเวณแนวรอยต่อของเพลตต่างๆ มักเป็นที่ตั้งของเทือกเขาสูงและภูเขาไฟ ทั้งบนทวีปและใต้มหาสมุทร การศึกษาการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกด้วยทฤษฎีเพลตเทคโทนิคส์ ประกอบกับร่องรอยทางธรณีวิทยาในอดีตพบว่า เมื่อ 200 ล้านปีก่อน ทุกทวีปอยู่ชิดติดกันเป็นแผ่นดินขนาดใหญ่ เรียกว่า แพนเจีย (Pangaea) โดยมีดินแดนทางตอนเหนือชื่อ ลอเรเซีย (Lawresia) และดินแดนทางใต้ชื่อ กอนด์วานา (Gonwana) ซึ่งแบ่งแยกด้วยทะเลเททิส


             นักวิทยาศาสตร์ศึกษาเกี่ยวกับกำเนิดของทวีปและมหาสมุทรโดยตั้งสมมติฐานว่า
ผืนแผ่นดินทั้งหมดเดิมเป็นผืนแผ่นดินเดียวกัน เรียกว่า พันเจีย (Pangea) และเนื่องจากอุณหภูมิและความดันที่อยู่ภายใต้โลกสูงมาก ทำให้แมกมาในชั้นฐานธรณีภาคเคลื่อนที่ (ตามหลักการของการพาความร้อนของสาร) และส่งผลให้ส่วนที่เป็นเปลือกโลกและเนื้อโลกตอนบนซึ่งเป็นของแข็งเกิดการแตกร้าวและเคลื่อนที่ตามไปด้วย ธรณีภาคจึงแตกออกเป็นแผ่น ๆ มีทั้งแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทร และแผ่นธรณีภาค ภาคพื้นทวีป ผืนแผ่นดินที่เป็นทวีปต่าง ๆ ในปัจจุบันอยู่บนแผ่นธรณีภาค ภาคพื้นทวีป


Dr.Alfred Wegener ได้ตั้งสมมติฐานว่าผืนแผ่นดินทั้งหมดบนโลกแต่เดิมเป็นแผ่นดินผืนเดียวกัน เรียก ว่า พันเจีย(Pangaea)แปลว่าแผ่นดินทั้งหมดเมื่อประมาณ 200 ล้านปีที่แล้ว พันเจียเริ่มแยกออกเป็นทวีปใหญ่ 2 ทวีป คือ ลอเรนเซียทางตอนเหนือ และกอนด์วานาแลนด์ทางตอนใต้ โดยทวีปทางตอนใต้จะแตกและเคลื่อนแยกจากกันเป็น อินเดีย อเมริกาใต้ และแอฟริกา ในขณะที่ออสเตรเลียยังคงเป็นส่วนหนึ่งของกอนด์วานา จนเมื่อประมาณ 65 ล้านปีที่ผ่านมา มหาสมุทรแอตแลนติกแยกตัวกว้างขึ้นทำให้แอฟริกาเคลื่อนที่ห่างออกไปจากอเมริกาใต้ และอเมริกาเหนือกับยุโรปก็ยังคงต่อเนื่องกัน ต่อมามหาสมุทรแอตแลนติกขยายกว้างขึ้นอีก อเมริกาเหนือและยุโรปจึงแยกจากกัน อเมริกาเหนือโค้งเว้าเข้าเชื่อมกับอเมริกาใต้ ออสเตรเลียแยกออกจากแอนตาร์กติกา และอินเดียได้เคลื่อนไปชนกับเอเชียจนเกิดเป็นภูเขา หิมาลัย และเป็นแผ่นดิน มหาสมุทรในปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น